Greenthaibiogas บริษัทก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยี

Hybrid Covered Lagoon คืออะไร? 

คือ ระบบก๊าซชีวภาพแบบ Covered Lagoon ที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการตะกอน ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบ และเพิ่มความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพให้สูงขึ้น โดยยังคงรูปแบบการก่อสร้างที่ง่าย แต่แข็งแรง ทั้งยังรวดเร็ว และลงทุนต่ำไว้เช่นเดิม
ได้รับการพิสูจน์ทั้งทางทฤษฎี จากบริษัทด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมชั้นนำของญี่ปุ่น และทางปฏิบัติโดยโครงการก๊าซชีวภาพที่ใหญ่ระดับเอเชีย

หลักการของระบบ Hybrid Covered Lagoon

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบ โดยทั่วไปประกอบด้วย

1. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ เช่น สภาพไร้อากาศ อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ระดับการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ ปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เป็นต้น

2. โอกาสในการสัมผัสระหว่างจุลินทรีย์กับอาหาร ซึ่งเป็นไปได้ใน 3 รูปแบบ

  รูปแบบที่ 1 การเพิ่มจำนวน โดยการหมุนเวียนตะกอน คล้ายระบบ AC (Activated Sludge)

  รูปแบบที่ 2 การเพิ่มระยะเวลาในการอยู่ร่วมกันของจุลินทรีย์กับอาหาร

  โดยใช้แผ่น Baffle ในระบบ ABR (Anaerobic Baffle Reactor) หรือการตรึงไว้กับแผ่นฟิล์ม ในระบบ Fixed Film

  รูปแบบที่ 3 การเพิ่มการเคลื่อนไหว โดยการกระจายน้ำในระบบ UASB และใช้ใบพัดกวนน้ำในระบบ CSTR (Complete Stirred Tank Reactor)

   

  สำหรับระบบ Hybrid Covered Lagoon ใช้การผสมผสานข้อดีของระบบต่างๆ ข้างต้นเข้าด้วยกัน ด้วยการประยุกต์บ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน 2 บ่อ ที่มีขนาดความจุแตกต่างกัน เข้ากับรูปแบบการไหลที่เน้นการกระจายตัวของตะกอนที่ระดับผิวน้ำ เพื่อให้ผลในการเพิ่มระยะเวลาการอยู่ในระบบของจุลินทรีย์และอาหาร พร้อมๆ กับการสร้างการเคลื่อนไหว จึงสามารถให้ผลเทียบเท่าหรือดีกว่า ทั้ง 3 รูปแบบข้างต้นร่วมกัน ในขณะที่ลงทุนต่ำกว่า ก่อสร้างได้ง่าย และรวดเร็วกว่า

ลักษณะเด่น ที่มีความได้เปรียบเหนือกว่าทุกระบบในปัจจุบัน

1. ประกอบด้วย 2 บ่อ ที่มีโครงสร้างเป็นดินทั้งหมด และคลุมด้วยแผ่นพลาสติกชนิด HDPE ซึ่งสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และลงทุนต่ำ

  1.1 บ่อตกตะกอน มีโครงสร้างเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดเล็ก มีหน้าที่หลักดังนี้

  1.1. 1 เป็นบ่อ Buffer หรือบ่อพักน้ำขั้นต้น สำรองลดความเสี่ยงจากภาวะ Shock Load*

  1.1.2 ตกตะกอนขั้นต้น ซึ่งช่วยลดปริมาณตะกอนแปลกปลอมในบ่อบำบัดหลัก จึงช่วยยึดอายุของระบบ และสะดวกต่อการจัดการ

  1.1.3 เป็นบ่อ Equalization ที่ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในน้ำเสียให้มีความเหมาะสม เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลาย ในบ่อบำบัดหลัก หรือบ่อ Covered Lagoon

  1.1.4 เป็นบ่อเก็บก๊าซสำรอง และช่วยรักษาเสถียรภาพความดันก๊าซภายในบ่อบำบัดหลัก จึงลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของแผ่นพลาสติกที่คลุมบ่อ รวมไปถึงการรักษาความต่อเนื่องในการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์

 

  1.2 บ่อ Covered Lagoon มีโครงสร้างเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจเป็นบ่อขุดลึกต่ำกว่าระดับดินเดิม โดยมีคันบ่อเสมอดินเดิม หรือบ่อที่มีคันบ่อสูงกว่าระดับดินเดิม ก็ได้

  
2. ระบบการไหลของน้ำเสียเป็นแบบอนุกรม หรือการไหลตามลำดับจากบ่อตกตะกอนสู่บ่อ    Covered Lagoon

3. ระบบท่อก๊าซ ที่มีวาล์วควบคุมโดยอิสระ แต่สามารถรักษาความดันก๊าซระหว่าง 2 บ่อ ได้อย่างสมดุล

4. มีระบบชักกากตะกอนส่วนเกินที่มีประสิทธิภาพ

5. มีบ่อสังเกตการณ์ ระหว่างบ่อหลัก เพื่อตรวจสอบสภาพน้ำเสียในระบบ และความสะดวกในการชะล้างตะกอนที่ตกค้างภายในท่อ

6. การไหลของน้ำเสียระหว่างบ่อ เป็นการไหลแบบ gravity flow ซึ่งอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ที่เน้นการไหลอย่างช้าๆ และต่อเนื่องที่ระดับผิวน้ำ เพื่อประสิทธิภาพในการบำบัด และลดโอกาสการอุดตันของท่อ และการฟุ้งกระจายของตะกอน นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายด้านการซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำอีกด้วย

7. ปราศจากอุปกรณ์เชิงกลที่ซับซ้อน เช่น เครื่องสูบน้ำ ท่อกระจายน้ำ ชุดเบนตะกอน เป็นต้น จึงมีค่าใช้จ่ายในการเดินระบบที่ต่ำมาก

 

 

 

 


  สถิติคนเข้าชมเว็บ
228949